.jpg)
ถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต
เดิมประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัด ภูเก็ตเรียกกันว่า "เจี๊ยะฉ่าย" นั้น
เป็นลัทธิเต๋าซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดาเทพเจ้า วีรบุรุษ เป็นประเพณีที่คนจีน นับถือมาช้านาน
โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน คำว่า "เจี๊ยะฉ่าย" (กินผัก) เป็นภาษาท้องถิ่น วันประกอบพิธีตรงกับวัน,
ขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ(เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี









ประเพณีเจี๊ยะฉ่ายของชาวภูเก็ตได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปี นับเวลาได้หลายร้อยปีแล้วซึ่งถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามของชาติ
.jpg)
พิธีกรรม ในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก จังหวัดภูเก็ต
พิธีบูชาพระ
ในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาพระด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งอ๊าม (ศาลเจ้า) และตามบ้านของผู้กินผัก
เมื่อกินผักได้ครบ 3 วัน ถือว่าผู้นั้นสะอาดบริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า เช้ง
พิธีโขกุ้น(พิธีเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า)
เป็นพิธีการเลี้ยงทหาร ซึ่งจะทำพิธีในวันที่ 3 วันที่ 6 และวันที่ 9 ของงาน
ประเพณีหลังเที่ยง หรือประมาณ 15.00 น. พอเริ่มพิธีจะต้องมีการเตรียมอาหารและเหล้าสำหรับเซ่นสังเวยเลี้ยงทหาร
และมีหญ้าหรือพวกถั่วเพื่อเป็นอาหารของม้า
พิธีเหลี่ยมเก้ง
เป็นการสวดมนต์ โดยจะเริ่มทำการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิ๊วฮ๋องไต่เต่ เข้าประทับในอ๊ามหรือศาลเจ้า
ทำพิธีสวดวันละ 2 ครั้งเป็นลักษณะการสวดมนต์เช้าและสวดมนต์เย็น โดยเฉพาะกลางคืนหลังจากสวดมนต์
ซึ่งใช้บทสวด คือ ปักเต้าเก็งก็จะมีการถากซ้อคือการอ่านรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมกินผัก
ซึ่งอ่านต่อหน้าแท่นบูชาพระกิ๊วฮ๋องฮุดโจ้ว เป็นลักษณะการกล่าวรายงานผู้ถือศีลกินผัก
พิธีป้ายชิดแช้ (พิธีบูชาดาว)
จะทำในคืนวัน 5 ค่ำ เพื่อขอให้ช่วยคุ้มครอง ในพิธีนี้จะมีการนำฮู้ (กระดาษยันต์) แจก
พิธีอิ้วเก้ง
เป็นการออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์หรือทำนองออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์โดยมีขบวนธง
และป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นก็เป็นเกี้ยวหาม รูปพระ เรียกว่าไท่เปี๋ยหรือเสลี่ยงเล็ก โดยหามรูปพระบูชาต่างๆออกนั่ง
เกี้ยวไป ซึ่งจัดตามชั้นและยศของพระ อาทิเช่น จาก “ลิ่น” ขึ้นไปเป็น “ง่วน”“โส่ย” สูงขึ้นไปอีกเป็น “ไต่เต้”
หรือสูงขึ้นไปอีกเป็น “ฮุด” จากนั้นเป็น ขบวนของพระเกี้ยวใหญ่หรือตั่วเหรียญ หรือเสลี่ยงใหญ่ ซึ่งมักใช้คน 8 คน
หาม และมีฉัตรจีน หรือนิ่วสั่วกั้นไปด้วย ซึ่งเป็นที่ประทับกิ๊วฮ๋องฮุดโจ้ว ในขณะที่ขบวนแห่ผ่านไป
ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้านและจุดประทัดต้อนรับขบวนเมื่อผ่านมาถึง









กำหนดการพิธีแห่พระของศาลเจ้า
วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553
อ๊าม(ศาลเจ้า)ฮุนจงอ๊าม จ้อสู่ก้ง นาคา พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2553
อ๊ามกวนเต้กุ้น (ศาลเจ้าสะปำ) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2553
อ๊ามหลิมฮู้ไท้ซู (ศาลเจ้าสามกอง) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
วันอังคารที่ 12 ตุลาคม 2553 อ๊ามบ้านท่าเรือ พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
อ๊ามเจ่งอ๋อง (ตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
อ๊ามเต่กุ๊นไต่เต่ (ป่าสัก) พิธีแห่พระรอบหมู่บ้านป่าสักและตลาดบ้านดอน
อ๊าม(ศาลเจ้า)ฮุนจงอ๊าม จ้อสู่ก้ง นาคา พิธีแห่พระรอบหมู่บ้าน
วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2553
อ๊ามบางเหนียว (บางหนียวต่าวโบ้เก้ง,มูลนิธิเทพราศี) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
อ๊ามสามอ๋องฮู้ (ศาลเจ้าเชิงทะเล) พิธีแห่พระในเขตอำเภอถลาง
อ๊ามกิ๊มซืออ๋องเก้ง (ศาลเจ้าบ้านดอน) พิธีแห่พระรอบหมู่บ้านไม้ขาว
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2553
อ๊ามจุ้ยตุ่ย (ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
อ๊ามกิมซืออ๋องเก้ง (ศาลเจ้าบ้านดอน) พิธีแห่พระรอบหมู่บ้านดอน หมู่บ้านเคียน หมู่บ้านสาคู
หมู่บ้านในยาง สนามบินภูเก็ตและหมู่บ้านเมืองใหม่
วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2553
หล่ายถู่ต่าวโบ้เก๊ง (ศาลเจ้ากะทู้) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
อ๊ามบ้านท่าเรือ พิธีแห่พระในเขตอำเภอถลาง
อ๊ามยกเค่เก้ง (ศาลเจ้าจอซูก้งซอยพะเนียง) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
วันเสาร์์ที่ 16 ตุลาคม 2553
อ๊ามซุ่ยบุ่นต๋อง (ศาลเจ้าหล่อโรง) พิธีแห่พระรอบตัวเมืองภูเก็ต
อ๊ามซำไป่กอง (ศาลเจ้าบางคู) พิธีแห่พระรอบหมู่บ้านสะปำและหมู่บ้านบางคู
-----------------------------------------------------------*
ขอขอบคุณ ที่มา : ททท.ภูเก็ต